เมนู

ว่าด้วยรูปหมวด 4 เป็นต้น


ในสังคหะที่ 4 มี 22 จตุกะ บรรดาจตุกะ 22 เหล่านั้น จตุกะสุด
ท้ายมิได้ทรงถือเอามาติกาตามที่กล่าวไว้ในทุกะนี้ อย่างนี้ว่า " รูปเป็นอุปาทาก็มี
รูปไม่เป็นอุปาทาก็มี" ดังนี้ แล้วทรงตั้งไว้ แต่ทรงถือจตุกะนอกนี้ทรงตั้งไว้
เป็นอย่างไร ?
คือ ทุกะ 3 ข้างต้นในปกิณกะทั้งหลายที่สงเคราะห์รูป 2 อย่าง
เหล่าใด ในทุกะ 3 เหล่านั้น ทรงถือเอาทีละทุกะประกอบกับทุกะละ 5 ทุกะ
โดยนัยมีอาทิว่า ยนฺตํ รูปํ อุปาทา ตํ อตฺถิ อุปาทินฺนํ อตฺถิ อนุปาทินฺนํ
(รูปเป็นอุปาทา ที่เป็นอุปาทินนะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนะก็มี) ดังนี้แล้วทรงตั้ง
จตุกะ 15 ข้างต้นซึ่งมี 3 ทุกะเป็นมูล.
บัดนี้ พึงทราบสนิทัสสนทุกะที่ 4 นี้ใด เพราะสนิทัสสนทุกะนั้นไม่ถึง
การประกอบกับทุกะอื่น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า " รูปเป็นสนิทัสสนะ (เห็นได้)
กระทบได้ก็มี กระทบไม่ได้ก็มี" ดังนี้ หรือว่ากับทุกะข้างต้นโดยนัยว่า " รูป
เป็นอุปาทาก็มี ไม่เป็นอุปาทาก็มี " เป็นต้น เพราะไม่มีอรรถะ เพราะไม่มี
ลำดับเป็นไป และเพราะไม่มีความแตกต่างกัน จริงอยู่ รูปที่ชื่อว่า สนิทัสสนะ
(เห็นได้) กระทบไม่ได้ หรือว่า เป็นอนุปาทา ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น
รูปนั้นจึงไม่ถึงการประกอบ เพราะไม่มีอรรถะ แต่รูปที่เป็นอุปาทินนะ และ
อนุปาทินนะมีอยู่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ถึงการประกอบ เพราะไม่มีลำดับเป็นไป
ด้วยว่า ทุกะทั้งหมดพระองค์ทรงประกอบกับทุกะหลัง ๆ เท่านั้น นี้เป็นลำดับ
ที่เป็นไปในอธิการนี้ แต่กับบทต้น ๆ ไม่มีลำดับเป็นไปดังนี้ หากมีผู้ท้วงว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่มีลำดับเป็นไป ก็ไม่ใช่เหตุสำคัญ ฉะนั้น ควรประกอบ

กับบทที่เป็นอุปาทินนะเป็นต้น. ตอบว่า จะประกอบกับรูปนี้ไม่ได้ เพราะ
ไม่มีความต่างกันกับรูปที่เป็นบทอุปาทินนรูปเป็นต้น ในอธิการแห่งบทมีอุปา-
ทินนะเป็นต้น ประกอบเข้ากับบทสนิทัสสนทุกะนั้นแล้ว เมื่อกล่าวว่ารูปเป็น
อุปาทินนะ เป็นสนิทัสสนะ หรือรูปที่เป็นสนิทัสสนะเป็นอุปาทินนะ ดังนี้
ความแตกต่างกันก็ไม่มี จึงไม่ถึงการประกอบกัน เพราะไม่มีความแตกต่างกัน
ฉะนี้.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งจตุกะไว้ 6 จตุกะประกอบ
ครั้งละ 2 ทุกะซึ่งประกอบโดยนัยมีอาทิว่า ยนฺตํ รูปํ สปฺปฏิฆํ ตํ อตฺถิ
อินฺทฺริยํ อตฺถิ น อินฺทฺริยํ ยนฺตํ รูปํ อปฺปฏิฆํ ตํ อตฺถิ อินฺทริยํ
อตฺถิ น อินฺทฺริยํ
(รูปกระทบได้ คือ สัปปฏิฆรูป) ที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่
เป็นอินทรีย์ก็มี รูปที่กระทบไม่ได้ (คืออัปปฏิฆรูป) ที่เป็นอินทรีย์ก็มี
ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี ดังนี้ กับ 3 ทุกะมีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ สปฺปฏิฆํ
ดังนี้ อื่นจากนั้นไม่ถือเอาทุกะที่ 4 นั้น.
ก็ทุกะที่ 4 นี้ ไม่ถึงการประกอบ ฉันใด แม้ทุกะต้นก็ไม่ถึงการ
ประกอบกับทุกะที่ 4 นั้น ฉันนั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะความที่อนุปาทารูป
(คือรูปที่ไม่มีใจครอง) เป็นอนิทัสสนรูป (เห็นไม่ได้). จริงอยู่ ทุกะข้างต้น
เมื่อประกอบกับทุกะที่ 4 อย่างนี้ว่า " รูปเป็นอนุปาทา เป็นสนิทัสสนะก็มี
เป็นอนิทัสสนะก็มี" ดังนี้ ย่อมไม่ถึงการประกอบได้. เพราะฉะนั้น จึงต้อง
เลยทุกะนั้นไปประกอบกับทุกะที่ 5. ทุกะใดถึงการประกอบได้ ประกอบไม่ได้
กับด้วยการประกอบอย่างนี้ พึงทราบทุกะนั้น ดังนี้. นี้เป็นการกำหนดตาม
พระบาลีในสังคหะที่ 4.

ว่าด้วยสงเคราะห์รูปหมวด 5


ก็เบื้องหน้าแต่นี้ สังคหะ (คือสงเคราะห์) 7 อย่างมีการสงเคราะห์รูป
5 อย่างเป็นต้น เป็นการสงเคราะห์ปะปนกันทั้งนั้น. พึงทราบการกำหนด
พระบาลีในมาติกาแม้ทั้งสิ้น ด้วยประการฉะนี้.
อุทเทสแห่งรูป จบ

รูปวิภัตติ


เอกกนิเทศ


[514] รูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุทั้งนั้น ไม่มีเหตุทั้งนั้น วิปปยุตจาก
เหตุทั้งนั้น เป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งนั้น เป็นสังขตธรรมทั้งนั้น เป็นรูปธรรม
ทั้งนั้น เป็นโลกิยธรรมทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของ
สัญโญชน์ทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของคันถะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของโอฆะทั้งนั้น
เป็นอารมณ์ของโยคะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของ
ปรามาสทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของอุปาทานทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของสังกิเลสทั้งนั้น
เป็นอัพยากตธรรมทั้งนั้น ไม่มีอารมณ์ทั้งนั้น ไม่ใช่เจตสิกทั้งนั้น วิปปยุต
จากจิตทั้งนั้น ไม่ใช่วิบาก และไม่ใช่เหตุแห่งวิบากทั้งนั้น ไม่เศร้าหมองแต่
เป็นอารมณ์ของสังกิเลสทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมมีทั้งวิตกทั้งวิจารทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรม
ไม่มีวิตกแต่มีวิจารทั้งนั้น ไม่มีทั้งวิตกทั้งวิจารทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วย
ปีติทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยสุขทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ทั้งนั้น อันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 ไม่ประหาณทั้งนั้น ไม่มี